[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
ผู้อำนวยการสถานศึกษา

ดร.เชษฐพงศ์ สุขปาน

ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ

รองผู้อำนวยการสถานศึกษา


นางสาวพรสิญาณิน ชุติวัตวรธันย์

รองผู้อำนวยการ

เมนูหลัก
poll

   คุณคิดว่าเวปนี้เป็นอย่างไร


  1. ดีมาก
  2. ดี
  3. ปานกลาง
  4. แย่
  5. แย่มาก


โรงเรียนสังกัด อบจ.อุบลฯ
สถิติผู้เยี่ยมชม

 เริ่มนับ 23/พ.ย./2560
ผู้ใช้งานขณะนี้ 9 IP
ขณะนี้
9 คน
สถิติวันนี้
146 คน
สถิติเมื่อวานนี้ี้
7 คน
สถิติเดือนนี้
1219 คน
สถิติปีนี้
3408 คน
สถิติทั้งหมด
91222 คน
IP ของท่านคือ 3.144.255.247
(Show/hide IP)

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

เจ้าของผลงาน : นางสาวณัฐธิดา จิตสิงห์
ศุกร์์ ที่ 31 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2564
เข้าชม : 100    จำนวนการดาวน์โหลด : 2 ครั้ง
Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.

บทคัดย่อ :
ชื่องานวิจัย       การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการ 
                         เขียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผู้วิจัย                นางสาวณัฐธิดา  จิตสิงห์

สถานที่ศึกษา    โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ปีที่พิมพ์ 2564
 
บทคัดย่อ
 
                          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและการพัฒนา(Research and Development : R&D)   มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD  เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษา           ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 4) เพื่อประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD  เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1-3 โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร  จังหวัดอุบลราชธานี ที่กำลังเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท22102 ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2563 จำนวน 3 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 65 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  ที่กำลังเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน รหัสวิชา ท22102 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน  1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)    ซึ่งการจัดนักเรียนแต่ละห้องเรียนเป็นการจัดนักเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียน              ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่ม   ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 5) แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประเมินความเป็นมาและความสำคัญและองค์ประกอบสำคัญของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าสถิติทดสอบ t – test Dependent Sample
                         ผลการวิจัย พบว่า
                         1. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีขั้นตอนในการพัฒนา 4 ขั้นตอนโดยใช้ระเบียบวิจัยและการพัฒนา (Research and Development : R&D) คือ ขั้นที่ 1 การวิจัย (Research: R1) : การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นที่ 3 การวิจัย (Research : R2) : การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ขั้นที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) : การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) ทฤษฎีการรับรู้ และการเข้าใจตนเอง (Metacognition Theory) และทฤษฎีประมวลผลข้อมูล (Information Processing Theory) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ หลักการ คือ นำววิธีการเรียน แบบร่วมมือเทคนิค STAD มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการด้านการเขียน และความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 สารที่ 2 การเขียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การนำเสนอในชั้นเรียน ขั้นที่ 2 การเรียนเป็นกลุ่ม ขั้นที่ 3 การทดสอบ ขั้นที่ 4 คะแนนความก้าวหน้ารายบุคคล ขั้นที่ 5 การยกย่องความสำเร็จของกลุ่ม ครูมีบทบาทกระตุ้นเสริมแรงและให้การสนับสนุนการเรียนของนักเรียน นักเรียนมีบทบาทในการกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลและทำกิจกรรมกลุ่มแบบร่วมมือกันเรียนรู้ การวัดและประเมินผลโดยทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่ม และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียน โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร                  จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 มีนักเรียนจำนวน 25 คน ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.44/81.80 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
                         2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                         3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัด      การเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x 
= 4.19, S.D = 1.06) เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านครูผู้สอน (x = 4.22, S.D = 1.04) ด้านเนื้อหา (x = 4.20, S.D = 0.99) ด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน (x = 4.19, S.D = 1.10) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ (x = 4.18, S.D = 1.02) และด้านการวัดและการประเมินผล (x = 4.14, S.D = 1.18)
                        4. ผลการประเมินความสามารถในการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะ ด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประเมินโดยนักเรียนหัวหน้ากลุ่ม พบว่า นักเรียน                มีความสามารถในการทำงานกลุ่มอยู่ในระดับมาก
                        5. ผลการประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมมีความสอดคล้องเหมาะสมในระดับมาก
 
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้,  วิธีการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD,การเรียนรู้แบบร่วมมือ, การเขียนสะกดคำยาก
          



งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถทักษะด้านการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 31/ธ.ค./2564
      การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบและทักษะการเขียนภาพระบายสี โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนภาพระบายสีน้ำตามหลักการของเดวีส์บนพื้นฐาน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 28/ก.พ./2564